บริการขนส่งสินค้าทางเรือ
บริการขนส่งสินค้าทางเรือ
ในปัจจุบันการขนส่งสินค้าจะใช้การขนส่งทางทะเลเป็นส่วนใหญ่ จัดเป็นการขนส่งที่มีความสำคัญมากและใช้มากที่สุด เพราะมีค่าขนส่งที่ต่ำและสามารถบรรทุกสินค้าได้เป็นจำนวนมาก โดยรูปแบบการขนส่งทางทะเลส่วนใหญ่จะใช้ขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ โดยตู้คอนเทนเนอร์ที่มีขนาดมาตรฐานจะทำด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม ทำให้มีโครงสร้างที่แข็งแรงสามารถรองรับการวางเรียงซ้อนกันไม่ต่ำกว่า 10 ชั้น ซึ่งการขนส่งสินค้าทางเรือโดยใช้ระบบตู้คอนเทนเนอร์ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
LCL (Less than container load) เป็นการบรรจุสินค้าไม่เต็มตู้แค่บางส่วนเหมาะสำหรับการส่งสินค้าที่มีจำนวนไม่มากและไม่เร่งรีบในการส่ง และมีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับการขนส่งทางอากาศ
FCL (Full container load) เป็นการบรรจุสินค้าเต็มตู้ Container ทั้งตู้ 20 ฟุตและ 40 ฟุต เหมาะสำหรับผู้ส่งสินค้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งมักเป็นสินค้าของผู้ส่งเพียงรายเดียว
การคำนวณค่าขนส่งสินค้าทางเรือแบบ LCL
ตัวอย่างการคำนวณ
มีสินค้าชนิดหนึ่งอยู่ในกล่อง กว้าง 150 x ยาว 100 x สูง 200 (ซม.) น้ำหนัก 70 กิโลกรัมต่อกล่อง จำนวน 30 กล่อง จากท่าเรือแหลมฉบังส่งไปประเทศจีน อัตราค่าระวาง USD 15 / CBM
เริ่มจากการเปรียบเทียบน้ำหนัก
สูตรการคำนวณปริมาตร
ลูกบาศก์เมตร = จำนวนของ x ปริมาตรลูกบาศก์เมตรต่อกล่อง
ลูกบาศก์เมตร = 30 x ((150 x 100 x 200) / 1,000,000)
ลูกบาศก์เมตร = USD 15 x 90
ลูกบาศก์เมตร = USD 1,350
ดังนั้นค่าระวางสินค้าเท่ากับ USD 1,350
ปริมาตรลูกบาศก์เมตร CMB = 90
สูตรการคำนวณน้ำหนักรวม
Weight ton = จำนวนของ x น้ำหนักต่อกล่อง(ตัน)
Weight ton = 30 x (70/1,000)
Weight ton = 2.1 ตัน
เมื่อเทียบผลการคำนวณปรากฏว่า CMB มีค่ามากกว่า Weight ton เพราะฉะนั้นจึงใช้ CMB ในการคิดค่าระวาง
สูตรการคิดค่าระวาง
ค่าระวาง = อัตราค่าระวาง x น้ำหนักสินค้า (ที่ได้จากการเปรียบเทียบ)
ค่าระวาง = USD 15 x 90
ค่าระวาง = USD 1,350
ดังนั้นต้องชำระค่าระวางสินค้า USD 1,350