บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ
บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ
การขนส่งสินค้าทางอากาศกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากว่าเป็นการขนส่งที่รวดเร็ว มีความแน่นอน ตรงต่อเวลาเหมาะสำหรับสินค้าที่ต้องการการแข่งขันกับเวลาและลดความเสี่ยงที่จะทำให้สินค้าเสียหายได้แต่สินค้าที่จะทำการขนส่งก็ต้องมีน้ำหนักเบา และการขนส่งประเภทนี้มีอัตราค่าขนส่งสูงกว่าการขนส่งประเภทอื่นๆ
การคำนวณค่าขนส่งสินค้าทางอากาศ แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
1.คำนวณจากน้ำหนักรวม (Actual Weight / Gross Weight)
2.คำนวณจากปริมาตร (Volume Weight) คิดจากขนาดกล่องสินค้า (กว้าง x ยาว x สูง)
*โดยค่าไหนมากกว่า จะใช้ค่านั้นคิดค่าระวาง
สูตรการคิดค่าระวาง
ค่าระวาง = อัตราค่าระวาง x น้ำหนักสินค้า (ที่ได้จากการเปรียบเทียบ)
ตัวอย่างการคำนวณ
ถ้ามีสินค้าจำนวน 59 กล่อง น้ำหนัก 10 กิโลกรัมต่อกล่อง ขนาดกล่องละ กว้าง 50 x ยาว 60 x สูง 40 (ซม.) ส่งไปประเทศออสเตรเลีย
อัตราค่าระวางมีดังนี้ น้ำหนักตั้งแต่ 40 กิโลกรัม ๆ ละ 40 บาท, น้ำหนักตั้งแต่ 200 กิโลกรัม ๆ ละ 50 บาท
วิธีคำนวณ เริ่มจากการเปรียบเทียบน้ำหนัก
Actual Weight = จำนวนของ x น้ำหนักต่อกล่อง
Actual Weight = 59 x 10 = 590 กิโลกรัม
Volume Weight = จำนวนของ x ปริมาตรของกล่อง (กว้าง x ยาว x สูง) (ซม.) / 6,000
Volume Weight = 59 x (50 x 60 x 40) / 6,000
Volume Weight = 1,180 กิโลกรัม
*ตัวเลข 6,000 คือ ค่ากำหนดเป็นมาตรฐานในการคำนวณสำหรับการขนส่งทางอากาศ
จากการคำนวณ Volume Weight มากกว่า Actual Weight ดังนั้น จึงใช้ Volume Weight ในการคิดค่าระวาง โดยอัตราค่าระวางจะใช้ราคา น้ำหนักตั้งแต่ 200 กิโลกรัมๆ ละ 50 บาท
ดังนั้น ค่าระวาง = อัตราค่าระวาง x น้ำหนักสินค้า
ค่าระวาง = THB 50 x 1,180b
ค่าระวาง= THB 59,000
ดังนั้นจะต้องชำระค่าระวางสินค้า 59,000 บาท